คำวิจารณ์ ของ 20 ถนนเฟนเชิร์ช

รางวัลคาร์บันเคิล

อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพในปี 2015 โดยนิตยสาร บิลดิงดีไซน์ สำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบห่วยแตกที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา[8][9][10] ในขณะที่นักผังเมืองประจำสถาบันผังเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอาคารเรียกขานอาคารนี้ว่าเป็น "เครื่องเตือนใจรายวัน[ทุกครั้งที่เดินผ่าน]ว่าโปรดอย่าปล่อยให้เกิดภัยพิบัติการวางแผนเช่นนี้ขึ้นอีก"[9]

ปัญหารังสีอาทิตย์

นับตั้งแต่ขณะอาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีผู้พบว่าเป็นเวลามากถึง 2 ชั่วโมงต่อวันที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงปะทะกับอาคารโดยจัง ส่วนอาคารซึ่งมีรูปร่างดังกล่าวก็ทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจกเว้าทำให้แสงเกิดการรวมและส่องโฟกัสลงไปบนท้องถนนทางใต้[11] ที่ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิบนถนนสูงถึง 91 องศาเซลเซียส (196 องศาฟาเรนไฮต์)[12] และ 117 องศาเซลเซียส (243 องศาฟาเรนไฮต์) เท่าที่มีการบันทึกไว้[13] ในช่วงฤดูร้อนปี 2013 มีการคำนวณระบุว่าแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกจากอาคารลงบนถนนมีความเข้มแสงสูงกว่าแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงถึง 6 เท่า และทำลายรถยนต์ที่จอดอยู่บนถนนด้านล่าง[14] ในจำนวนนี้รถคันหนึ่งซึ่งจอดบนถนนอีสชีพปรากฏส่วนบอดีของรถยนต์หลอมละลาย เจ้าของรถฟ้องร้องค่าเสียหายได้จำนวน £946 จากเจ้าของอาคาร นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวของซิทีเอเอ็ม จิม วอเทอร์ซัน ยังเคยสาธิตความร้อนบนถนนจากการรวมแสงนี้โดยการทอดไข่ในกะทะที่วางบนพื้นถนนออกโทรทัศน์[15] ร้านค้าที่อยู่บนถนนด้านล่างรายงานว่าพรมทางเข้าประตูของร้านค้าถูกเผาไหม้ จนอาคารได้รับฉายาจากสื่อว่า "วอล์กคี-สกอร์ชี" (Walkie-Scorchie, จากชื่อเล่น Walkie-Talkie; วิทยุสื่อสาร, ผสมคำว่า Scorch; ทำให้ไหม้เกรียม)[16][17][18] และ "ฟรายสเครเปอร์" (Fryscraper, จากคำว่า Skyscraper; ตึกระฟ้า, ผสมคำว่า Fry; ทอด)[11][19][20]

ในปี 2014 ได้มีการติดตั้งนั่งร้านถาวรบนชั้นสูง ๆ ของอาคารฝั่งใต้เพื่อแก้ปัญหานี้[21]

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร ราฟาเอล วิโญลี ยังคงเป็นผู้ออกแบบโรงแรมวาดาราในลาสเวกัสซึ่งประสบปัญหาการสะท้อนแสงอาทิตย์ที่รุนแรงเหมือนอาคารนี้ จนโรงแรมนั้นได้รับขนานนามว่าเป็น "รังสีมรณะวาดารา" (Vdara death ray)[22] ที่ซึ่งต่อมาแก้ปัญหาโดยการติดฟิล์มกันสะท้อน[23]

สวนลอนฟ้า

สวนลอยฟ้าชั้น 36 - 38

สวนลอยฟ้า (Sky Garden) ที่ซึ่งเริ่มแรกระบุส่าจะเป็นจุดชมวิวจากยอดอาคาร มีพื้นที่กว้างสีเขียว และเปิดแก่วาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นเหตุผลที่ให้นักผังเมืองยินยอมให้สร้างอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ขึ้นบนชายขอบของพื้นที่อนุรักษ์ใจกลางลอนดอนเช่นนี้ ภาพเรนเดอร์จากคอมพิวเตอร์แสดงสวนประกอบไปด้วยต้นไม้เขียวสูงใหญ่ อย่างไรก็ตามสวนกลับออกมาเป็นเนินที่มีเฟิร์นกับพืชอวบน้ำแทน[24]

ปัจจุบันสวนลอยฟ้าเปิดให้เข้าชมต่อสาธารณะเป็นรอบ รอบละ 90 นาทีถึงเวลา 18:00 ซึ่งจะปิดต่อสาธารณะและเปิดให้บริการสำหรับลูกค้าของภัตตาคารและบาร์ด้านบนเท่านั้น[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: 20 ถนนเฟนเชิร์ช http://www.cityam.com/article/1377649632/walkie-sc... http://www.cityam.com/article/1378091289/exclusive... http://edition.cnn.com/2013/09/03/world/europe/uk-... http://www.ft.com/cms/s/2/1ed54aaa-0089-11e1-ba33-... http://www.landsecurities.com/websitefiles/20%20FS... http://www.mississauga.com/news-story/4067822-lond... http://www.nbcnews.com/id/39403349 http://www.skyscrapernews.com/news.php?ref=3507 http://www.skyscrapernews.com/news.php?ref=789 http://www.thelawyer.com/analysis/the-lawyer-manag...